เปลี่ยนครัวไทยให้เป็นครัวคลีนด้วยน้ำมันมะพร้าว .

เปลี่ยนครัวไทยให้เป็นครัวคลีนด้วยน้ำมันมะพร้าว

Share : facebook share twitter share messenger share

บทความ น้ำมันมะพร้าว

เปลี่ยนครัวไทยให้เป็นครัวคลีนด้วยน้ำมันมะพร้าว



การรับประทานอาหารคลีนให้ได้ผลนั้น จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง สามารถเลือกความคลีนได้สมดั่งใจ วันนี้ขอแนะนำการเปลี่ยนเป็นครัวคลีน แบบง่ายๆ เริ่มได้โดยการใช้ น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหารค่ะ

 

     ใครๆ ก็รู้จัก และพูดถึง "อาหารคลีน" ( Clean Food ) กัน  ซึ่งอาหารที่เรียกได้ว่า “คลีน” นั้น มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่แบบยืดหยุ่นไม่เข้มข้นมาก ไปจนถึงโปรแกรมเข้มข้นสูงที่คำนวณตามความต้องการของร่างกายจริงๆ โดยไม่ว่าโปรแกรมไหนก็ต้องยึดตามปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน ตามการใช้งานของแต่ละบุคคลเป็นหลัก

 

     การรับประทานอาหารคลีนให้ได้ผลนั้น จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋า และเลือกความคลีนได้สมดั่งใจ ลองมาเปลี่ยนครัวบ้านๆ มาเป็นครัวอาหารคลีนด้วยเทคนิคเหล่านี้กัน บอกเลยว่าง่าย และยุ่งยากอย่างที่คิด

 

1. Starter kit อุปกรณ์สำหรับผู้เริ่มต้น

     อุปกรณ์พื้นฐานเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า ราคาก็มีหลากหลายตามคุณภาพ ถ้าใครคิดว่าจะจริงจัง แนะนำให้ซื้อของดีมีคุณภาพแบบที่ใช้ได้นานๆ ทนๆ ไปเลย เพราะการลดน้ำหนักมันใช่ทำแค่เดือนสองเดือนแล้วเลิก แต่มันคือการเปลี่ยนพฤติกรรมของเราไปตลอดกาล

 

2. เครื่องชั่ง

     แรกๆ เราอาจจะต้องพยายามชั่งทุกอย่างที่ใช้ปรุงและทาน โดยละเอียด เมื่อถึงจุดที่เคยชิน สกิลเริ่มเทพ เราจะสามารถกะปริมาณคร่าวๆ ได้ด้วยสายตา โดยเครื่องชั่งที่อยากแนะนำ คือ เครื่องชั่งแบบดิจิตอล ซึ่งให้ผลค่อนข้างชัดเจน เรียกว่าเป็นจุดทศนิยมเลยก็ว่าได้ แถมใช้โปรแกรมตัดน้ำหนักของภาชนะออกได้ ช่วยให้สะดวกรวดเร็วขึ้น เคล็ดลับวิธีการชั่ง ให้เริ่มจากการชั่งวัตถุดิบ ก่อนนำมาปรุง จะช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

 

3. เครื่องปรุงอาหารคลีนพื้นฐาน

     เครื่องปรุง และซอสต่างๆ ยังคงใช้ได้ในครัวอาหารคลีน แต่อาจจะต้องจำกัดปริมาณ และอ่านฉลากแบบละเอียดว่าแต่ละอย่างนั้นให้พลังงานเท่าไหร่ต่อหน่วยบริโภค มีปริมาณน้ำตาลแฝง และโซเดียมอยู่เท่าไหร่ จะกระหน่ำใส่แบบจัดหนักจัดเต็ม คงไม่ได้ พยายามปรุงรสพอดี ไม่เค็ม ไม่หวานจัด จนเกินไป

 

4. เกลือ

     ข้อดีของการใช้เกลือคือความเค็มที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง และไม่มีพลังงาน แต่ก็ควรใช้เกลือในปริมาณที่พอเหมาะ โดยปริมาณความเค็ม (โซเดียม) ที่เหมาะกับร่างกายคือ ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม ต่อคนต่อวัน หรือเทียบง่ายๆ คือ ประมาณ 1 ช้อนชา ต่อวันนั่นเอง

 

5. น้ำมันพืช และไขมัน

     เรื่องการใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร ควรเลือกน้ำมันให้เหมาะกับชนิดอาหาร และวิธีการปรุง เพราะน้ำมันแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน  แล้วน้ำมันแบบไหน ใช้ประกอบอาหารวิธีไหนถึงจะดีต่อสุขภาพ ?

 

  • ทอด

     จะทอดหมู ไก่ เนื้อ ปลา หรือแม้กระทั่งผักชุบแป้งทอด กรรมวิธีในการทอดจำเป็นต้องใช้น้ำมันในปริมาณมาก ในความร้อยเดือดระอุ และมักใช้เวลานานกว่าอาหารที่เราทอดจะสุกแบบกรอบนอกนุ่มใน ดังนั้นน้ำมันที่เราใช้ควรเป็นน้ำมันที่เหมาะกับการกักเก็บความร้อนได้ยาวนาน ทนต่อความร้อนได้ดี

 

น้ำมันที่แนะนำ : น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันปาล์มผสมคาโนล่า น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าไลท์ และ น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ตราแมนเนเจอร์ จากธรรมชาติ 100% (Organic Coconut Cooking Oil By ManNature)

 

  • สลัด และน้ำจิ้ม

     หากคุณเป็นสายสุขภาพตัวจริง อาจเลี่ยงการทานอาหารประเภท ผัด ทอด เพราะอยากหลีกเลี่ยงไขมันที่ไม่ดีให้มากที่สุด แล้วหันมาทานสลัด หรืออาหารต้มๆ ลวกๆ เคียงข้างด้วยน้ำจิ้ม ซึ่งอาหารประเภทนี้อาจมีส่วนผสมของน้ำมันอยู่ด้วย เพื่อคุณค่าทางสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นตัวทำละลายส่วนผสม และเพิ่มรสชาติที่ดีให้กับอาหาร

 

น้ำมันที่แนะนำ : น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น น้ำมันงาและ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เช่น น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์  (Organic Coconut Oil Extra Virgin By ManNature) ที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้ โดยไม่ผ่านความร้อนค่ะ

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Cooking Oil By ManNature)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก lovefitt


บทความที่น่าสนใจ

11 อาหารปราบความเครียด

น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ตัวช่วยทำอาหาร สุขภาพดี

สรรพคุณน้ำมันมะพร้าว ที่ส่งผลดี ต่อสุขภาพ

บำรุงผิวสวยด้วย น้ำมันมะพร้าว